Home » ประเมินความเสี่ยง : การทำงานบนที่สูง ก่อนเริ่มทำงานควรดูอะไรบ้าง

ประเมินความเสี่ยง : การทำงานบนที่สูง ก่อนเริ่มทำงานควรดูอะไรบ้าง

by admin
การประเมินความเสี่ยงในการทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูง อาจเป็นอันตรายได้หากไม่ปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่เหมาะสม ในบทความนี้จะพูดถึงขั้นตอนที่จำเป็นใน การประเมินความเสี่ยง ในการทำงานบนที่สูง เมื่อปฏิบัติตามขั้นตอนเหล่านี้ คุณจะมั่นใจได้ว่าพนักงานของคุณจะปลอดภัยเมื่อทำงานบนที่สูง

การประเมินความเสี่ยง คือ การตรวจสอบอย่างรอบคอบว่าสิ่งใดในที่ทำงานของคุณที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้อื่น เพื่อที่คุณจะได้ชั่งน้ำหนักว่าได้ใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้ว หรือ ควรทำมากกว่านั้นเพื่อป้องกันอันตราย ตามกฎหมายแล้วนายจ้างจะต้องประเมินความเสี่ยงในสถานที่ทำงานของตนเพื่อดำเนินการตามแผนในการควบคุมความเสี่ยงก่อนให้พนักงานทำงานทุกครั้ง

5 ขั้นตอน การประเมินความเสี่ยง ในการทำงานบนที่สูง

  1. การระบุอันตราย
  2. การตัดสินใจว่าใครอาจได้รับอันตรายและอย่างไร
  3. การประเมินความเสี่ยงและตัดสินใจในการป้องกัน
  4. การบันทึกสิ่งที่สังเกตุเห็นและนำไปดำเนินการ
  5. ทบทวนการประเมินและอัปเดตหากจำเป็น

5 ขั้นตอน การประเมินความเสี่ยง

ขั้นตอนที่ 1: การระบุอันตราย

ขั้นตอนแรกของการประเมินความเสี่ยงคือการระบุอันตรายที่มีอยู่ในสถานที่ทำงาน คุณสามารถระบุอันตรายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้ :

  • สังเกตการณ์เดินตรวจสอบในพื้นที่ทำงาน
  • รับข้อเสนอแนะจากพนักงานที่ทำงานบนที่สูง
  • ตรวจสอบคำแนะนำของผู้ผลิต หรือ เอกสารข้อมูลสำหรับอุปกรณ์ทำงานบนที่สูง
  • ทบทวนบันทึกประวัติอุบัติเหตุ และ สุขภาพของพนักงานในอดีตที่ผ่านมา

ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการสังเกตสิ่งต่างๆ เช่น อันตรายจากการลื่นไถลและสะดุด การทำงานคนเดียว การจัดการด้วยมือ สารเคมีที่ใช้ทำความสะอาด หรือความเสี่ยงจากอัคคีภัย เป็นต้น สำหรับกิจกรรมการทำงานบนที่สูงข้อบังคับการทำงานบนที่สูงปี 2023 ระบุว่าจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้ในการประเมินความเสี่ยงด้วย :

  • สภาพการทำงาน และ ความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้คน ณ สถานที่ที่ต้องใช้อุปกรณ์ในการทำงาน
  • ความรุ่นแรงของการตกจากที่สูงที่อาจจะเกิดขึ้น
  • ระยะเวลาทำงาน และ ความถี่ในการใช้อุปกรณ์ในการทำงาน
  • การเตรียมแผนฉุกเฉินและ อพยพ แผนกู้ภัยในการทำงานบนที่สูงกรณีฉุกเฉิน
  • ความเสี่ยงเพิ่มเติมต่างๆ ที่เกิดจากการใช้งาน การติดตั้ง การรื้อถอนอุปกรณ์ในการทำงาน หรือการอพยพและการช่วยเหลือจากอุปกรณ์ดังกล่าว
  • การกำหนดอุปกรณ์ในการทำงานบนที่สูงให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ปฏิบัติ
  • อุปกรณ์การทำงานอนุญาตให้ใช้ได้โดยไม่มีความเสี่ยงหรือไม่

ความเสี่ยงในการทำงานบนที่สูง

ขั้นตอนที่ 2: การตัดสินใจว่าใครจะได้รับอันตราย

ขั้นตอนที่ 2 ในการประเมินความเสี่ยงต่อการทำงานบนที่สูงเกี่ยวข้องกับการสังเกตอันตรายแต่ละอย่าง จากนั้นระบุผู้ที่อาจได้รับอันตราย คนเหล่านี้อาจเป็น :

  • พนักงานเฉพาะกลุ่ม.
  • ลูกค้าและประชาชนทั่วไป.
  • ผู้ที่เยี่ยมชม

พนักงานบางคนยังมีข้อกำหนดเฉพาะห้ามปฏิบัติงาน เช่น:

  • คนงานที่มีโรคประจำตัว
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้พิการ
  • ผู้ที่ไม่ได้ทำงานตลอดเวลา เช่น พนักงานพาร์ทไทม์และผู้รับเหมาในพื้นที่ทำงานที่มีอันตรายต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าคำนึงถึงทุกคนที่เกี่ยวข้อง

ตัดสินใจความเสี่ยงในการทำงานบนที่สูง

ขั้นตอนที่ 3: การประเมินความเสี่ยง

ขั้นตอนต่อไปในการประเมินความเสี่ยงคือการประเมินอันตรายที่ระบุและตัดสินใจว่าสามารถกำจัดได้หรือไม่ ถ้าไม่จะควบคุมความเสี่ยงอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดอันตรายอย่างไร? สามารถพิจารณาดังนี้ :

  • ลองพิจารณาตัวเลือกอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่า
  • ป้องกันการเข้าถึงอันตราย
  • จัดระเบียบงานใหม่ เพื่อลดหรือควบคุมการที่สัมผัสกับอันตราย
  • การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล PPE
  • การฝึกอบรมที่สูงให้กับพนักงานเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาเข้าใจถึงอันตราย และ ข้อควรระวังที่ต้องปฏิบัติ

ไตร่ตรองถึงมาตรการควบคุมที่มีอยู่ว่า เพียงพอหรือไม่ ต้องปรับปรุงหรือนำเสนอมาตรการควบคุมใหม่หรือไม่?

บันทึกอันตรายความเสี่ยงลงบนรายงาน

4: บันทึกสิ่งที่คุณค้นพบ

แนะนำให้จดบันทึกสิ่งที่สังเกตเห็นจากการประเมินความเสี่ยง แม้ว่าในธุรกิจของคุณจะมีพนักงานน้อยกว่า 5 คนซี่งตามกฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ คุณต้องสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า:

  • มีการตรวจสอบอย่างถูกต้อง
  • คุณได้พิจารณาแล้วว่าใครบ้างที่อาจจะได้รับผลกระทบ
  • คุณได้จัดการกับอันตรายที่มีนัยสำคัญที่ชัดเจนทั้งหมดแล้ว โดยคำนึงถึงจำนวนคนที่อาจจะเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
  • ข้อควรระวังนั้นสมเหตุสมผลและเหลือความเสี่ยงต่ำ
  • พนักงานหรือตัวแทนมีส่วนร่วม

การบันทึกสิ่งที่พบหมายถึงการใช้รูปแบบการประเมินความเสี่ยง โดย ใช้ใบประเมินความเสี่ยงฉบับใหม่สำหรับการประเมินแต่ละครั้งและสำหรับแต่ละพื้นที่ของสถานที่ทำงาน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณลงวันที่ในการประเมินความเสี่ยง บันทึกรายละเอียดว่าใครเป็นผู้ประเมิน และจดวันที่ครบกำหนดการดำเนินการและกำหนดการเสร็จสิ้น

ขั้นตอนที่ 5: ตรวจสอบและอัปเดต

ควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น ทุกๆ 6-12 เดือน เพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงของสถานที่ทำงานต่างๆอาจที่ส่งผลต่อการประเมินความเสี่ยงของคุณหรือไม่ ตัวอย่างเช่น:

  • ยังมีการปรับปรุงต่าง ๆ ที่ยังต้องทำ?
  • มีข้อเสนอแนะของพนักงานหรือไม่?
  • คุณได้เรียนรู้อะไรจากอุบัติเหตุและเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่?
  • มีการนำอุปกรณ์หรือเครื่องจักรใหม่มาใช้หรือไม่?
  • คุณมีพนักงานใหม่ที่ต้องการการฝึกอบรมหรือไม่?

นอกจากนี้ คุณควรที่จะอัปเดตการประเมินความเสี่ยงเป็นรายครั้งๆไปเพื่อให้แน่ใจว่ายังคงเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่น หากคุณมีพนักงานใหม่ เกิดอุบัติเหตุ หรือนำอุปกรณ์ใหม่มาใช้ และนอกจากการประเมินความเสี่ยงแล้ว การตรวจสอบระบบต่างๆ ให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอก็นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างยิง ไม่ว่าจะเป็น การตรวจสอบระบบไฟฟ้า ตรวจสอบระบบดับเพลิง เป็นต้น

You may also like