การ ตรวจสอบระบบดับเพลิง ตามมาตรฐานสำคัญอย่างไร
การ ตรวจสอบระบบดับเพลิง เป็นการตรวจสอบเพื่อเช็คความพร้อมของระบบเพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพราะเหตุการณ์ไม่คาดคิดสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นอย่างมากที่เราต้องเตรียมระบบสำหรับดับเพลิงให้พร้อมใช้งาน หากระบบดับเพลิงพร้อมใช้งาน เมื่อมีเหตุเพลิงไหม้เกิดขึ้นระบบก็สามารถใช้งานได้ทันที ทำให้เกิดความสูญเสียน้อยและไม่เป็นวงกว้าง ยิ่งสามารถระงับเหตุได้เร็วเท่าไหร่ความเสียหายยิ่งน้อยเท่านั้น
ทำไมต้อง ตรวจสอบระบบดับเพลิง
- กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555 กำหนดไว้ว่า “ข้อ 2 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการตามกฎกระทรวงนี้ และต้องดูแลระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย”
- ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 กำหนดไว้ว่า
“ข้อ 15 ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์สำหรับการป้องกันและระงับอัคคีภัยให้สามารถพร้อมทำงานได้ตลอดเวลา โดยการตรวจสอบ ทดสอบและบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์เหล่านั้นให้เป็นไปตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศนี้หรือมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับ”
นอกจากการตรวจสอบระบบดับเพลิงจะเป็นข้อกำหนดทางกฎหมายแล้วการตรวจสอบระบบดับเพลิงประจำปียังดำเนินการเพื่อเตรียมระบบให้พร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลาและสามารถนำมาใช้งานได้อย่างทันทีหากมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น
ตรวจสอบระบบดับเพลิงต้องตรวจสอบอะไรบ้าง
การตรวจสอบระบบดับเพลิงระจำปี ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การป้องกันและระงับอัคคีภัยในโรงงาน พ.ศ. 2552 ได้กำหนดการตรวจสอบ ทดสอบ และบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ไว้ดังนี้
อุปกรณ์ป้องกันและระงับอัคคีภัย |
วิธีการ |
ระยะเวลา |
1. เครื่องสูบน้ำดับเพลิง
2. หัวรับน้ำดับเพลิง (Fire department connections) 3. หัวดับเพลิงนอกอาคาร (Hydraants) 4. ถังน้ำดับเพลิง
5. สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and hose station) 6. ระบบกระจายน้ำดับเพลิงอัตโนมัติ (Sprinkler system)
|
|
|
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับระบบดับเพลิงด้วยน้ำ
มาตรฐานการตรวจสอบระบบดับเพลิงที่ได้รับการยอมรับในการตรวจสอบระบบดับเพลิงในปัจจุบัน มี 2 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) และมาตรฐาน NFPA (NFPA ย่อมาจาก National Fire Protection Association หรือชื่อไทย คือ สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ) มาตรฐาน NFPA ที่เป็นที่ยอมรับเกี่ยวกับระบบดับเพลิงด้วยน้ำได้แก่
- NFPA 13 Standard for the Installation of Sprinkler Systems
- NFPA 14 Standard for the Installation of Standpipe and Hose Systems
- NFPA 15 Standard for Water Spray Fixed Systems for Fire Protection
- NFPA 20 Standard for the Installation of Stationary Pumps for Fire Protection
- NFPA 22 Standard for Water Tanks for Private Fire Protection
- NFPA 24 Standard for the Installation of Private Fire Service Mains and Their Appurtenances
มาตรฐานที่กล่าวมาเป็นมาตรฐานเกี่ยวกับการติดตั้งระบบดับเพลิงด้วยน้ำและมาตรฐานสากลที่เป็นที่ยอมรับในการตรวจสอบทดสอบและบำรุงรักษาระบบและอุปกรณ์คือมาตรฐาน NFPA 25 : Standard for the Inspection , Testing , and Maintenance of Water Based Fire Protection Systems ซึ่งเรามักเห็นได้บ่อยครั้งเมื่อมีการว่าจ้างผู้รับเหมาเข้ามาดำเนินการตรวจสอบระบบน้ำดับเพลิงมักจะอ้างอิงการตรวจสอบตามมาตรฐาน NFPA 25
สรุป
การตรวจสอบระบบดับเพลิงมีรายการที่ต้องตรวจสอบจำนวนมากซึ่งแต่ละรายการมีระยะเวลาในการตรวจสอบและทดสอบที่แตกต่างกันเพื่อป้องกันการลืมหรือการตกหล่นในการตรวจสอบจึงควรจัดทำเป็นแผนงานระบุระยะเวลาในการตรวจสอบที่ชัดเจนและติดตามการดำเนินการตามแผน
โดยการตรวจสอบและทดสอบต้องดำเนินการโดยบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 11 และนอกจากการตรวจสอบแล้วการบำรุงรักษาตามรอบระยะเวลาก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกันเนื่องจากเป็นการยืดอายุการใช้งานของอุกรณ์ต่างๆและเป็นการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ