พื้นฐาน การใช้เครน ได้อย่างถูกต้องปลอดภัยต้องทำอย่างไรบ้าง
การใช้เครน หรือปั้นจั่น เป็นเครื่องจักรชนิดหนึ่ง ที่ช่วยให้สามารถยกของที่มีน้ำหนักมากในไซต์ก่อสร้างหรือในสถานที่ทำงานได้ แต่เครนก็อาจเป็นอันตรายได้เช่นกันเนื่องจากด้วยตัวเครนเองและน้ำหนักของสิ่งของที่ทำการบรรทุกก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้หากใช้งานอย่างไม่เหมาะสม
ตั้งแต่ปี 2554 ถึง 2560 สำนักสถิติแรงงาน รายงานจำนวนผู้เสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับปั้นจั่น จำนวน 297 ราย และในจำนวนนั้นมีผู้เสียชีวิตมากกว่าครึ่ง เป็นผลมาจากการถูกสิ่งของหรืออุปกรณ์กระแทก และกว่า 20% มีสาเหตุมาจากผู้บังคับปั้นจั่น จากสถิติเหล่านี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นด้านความปลอดภัยของปั้นจั่น ในทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน รวมถึงการขับเคลื่อน การติดตั้ง การยึดและการยกสิ่งของ ต่อไปนี้คือสิ่งที่จะทำให้สามารถปฏิบัติงานกับเครนได้อย่างปลอดภัย
เลือก การใช้เครน ให้เหมาะสมกับประเภทของงาน
- ต้องมั่นใจว่ามีการใช้งานเครนอย่างปลอดภัย โดยเริ่มจากการเลือกใช้เครนอย่างถูกต้อง เครนมีทั้งแบบเคลื่อนที่และอยู่กับที่ โดยทั่วไปเครนแบบอยู่กับที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเครนชนิดเคลื่อนที่มีหลายประเภทการเลือกใช้งานจึงต้องเลือกให้ถูกต้องตามประเภทของการใช้งานและสถานที่ใช้งานด้วยเพราะความปลอดภัยเริ่มจากการเลือกใช้เครนที่ถูกประเภทเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน
บุคคลที่ทำงานกับเครนต้องผ่านการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนด
- การทำงานที่ปลอดภัยกับเครน ผู้ที่ทำงานต้องผ่านการฝึก อบรมเครน ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะหากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้ ความสามารถอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานได้ ต้องตรวจเครนให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานผ่านการฝึกอบรมแล้ว
ศึกษาคู่มือ การใช้เครน
ถึงแม้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะผ่านการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกถึงเสมอคือเครน แต่ละตัวมีอุปกรณ์และลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตกำหนด ผู้ที่ปฏิบัติงานกับเครนแต่ละตัวจึงต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเครนที่ตนเองทำงานอย่างละเอียด ประกอบด้วย
- พิกัดการยก
- กลไกความปลอดภัย
- การคงตัวและน้ำหนักการยก
- การควบคุมการปฏิบัติงาน
ก่อนการปฏิบัติงานกับเครนทุกครั้ง ต้องศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
การตรวจสอบเครนประจำวัน
- ผู้ปฏิบัติงานต้องทำการตรวจสอบเครนก่อนการใช้งานเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้มั่นใจว่าเครนมีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานตามเอกสารการตรวจสอบประจำวัน และหากพบว่าเครนไม่พร้อมใช้งาน ต้องหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการแก้ไข ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน
จัดการสิ่งกีดขวางในระหว่างการขับเคลื่อน
- การการขับเคลื่อนเครนหรือปั้นจั่น ต้องมั่นใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณเส้นทางเดินของปั้นจั่น ควรหลีกเลี่ยงอันตรายที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น สายไฟ หรือสิ่งอื่นๆ ที่มีการติดตั้งแบบถาวร ผู้ปฏิบัติงานควรรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยตลอดเวลาที่มีการฏิบัติงาน ผู้ให้สัญญาณควรเป็นผู้นำเครนระหว่างการขับเคลื่อนเสมอตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ให้สัญญาณเตือนกับผู้ควบคุมเครนถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
ติดตั้งเครนให้มั่นคงก่อน การใช้งานเครน
ปั้นจั่นหรือเครนแบบเคลื่อนที่ที่ใช้แขนค้ำยัน ต้องตั้งให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้ปั้นจั่นพลิกคว่ำระหว่างการทำงาน ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้เสมอ
- ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้
- ใช้แผ่นรองแขนปั้นจั่นเสมอ
- ห้ามวางทริกเกอร์เหนือช่องว่างบนพื้นที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
อุบัติเหตุเครนพลิกคว่ำหลายครั้งเกิดขึ้นเนื่องจากการตั้งเครนบนพื้นที่ที่ไม่มั่นคงแข็งแรงและการกางแขนของเครนที่ไม่เหมาะสม จึงต้องมั่นใจว่าได้กางแขนของเครนอย่างถูกต้องและตั้งบนพื้นที่ที่มั่นคงแข็งแรง
โหลดอุปกรณ์อย่างถูกต้อง
การบรรทุกสิ่งของที่เหมาะสมจะช่วยป้องกันไม่ให้สิ่งของหล่นลงมาและอาจกระทบกับคนงานที่ทำงานอยู่ เมื่อทำการบรรทุกสัมภาระ ให้คำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- การผูกมัดสัมภาระ
- มุมของสลิง
ผู้ปฏิบัติงานต้องเข้าใจเกี่ยวกับแรง การกระจายน้ำหนัก และเทคนิคการผูกมัด เพื่อความปลอดภัยในขณะทำการโหลดสัมภาระ
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับรัศมีการโหลด
- เพื่อให้สามารถใช้งานเครนได้อย่างปลอดภัยสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจว่าเครนทำงานอย่างไร และต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับรัศมีของการรับน้ำหนัก ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วยิ่งโหลดอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางมากเท่าไหร่ ความสามารถในการรับน้ำหนักก็จะลดลงเท่านั้น
ให้ความสำคัญกับขีดจำกัดการโหลด
- ผู้ปฏิบัติงานต้องให้ความสำคัญกับขีดจำกัดของการโหลด ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอเมื่อมีการโหลดสิ่งของเพราะหากผู้ปฏิบัติงานไม่ให้ความสำคัญกับขีดจำกัดการโหลด อาจก่อให้เกิดการพลิกคว่ำของเครนได้ หากยกเกินขีดจำกัด
ใช้การสื่อสารและสัญญาณมือที่เหมาะสม
- การใช้สัญญาณมือในการสื่อสารตามมาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างปลอดภัยของปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณต้องมีความสามารถในการให้สัญญาณไปยังผู้ควบคุมปั้นจั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความผิดพลาดและก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ปฏิบัติงาน
การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครน
- ผู้ควบคุมปั้นจั่นจะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรว่ามีสามารถในการควบคุมปั้นจั่นและได้รับการรับรองว่าผ่านการอบรมที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
- บุคคลที่ผ่านการฝึกอบรมเครนแล้วเท่านั้น ที่สามารถใช้งานเครนได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน การเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์
- มีการตรวจสอบสภาพของเครนและอุปกรณ์ที่จะต้องใช้งานทุกชิ้นก่อนเริ่มงานทุกครั้ง และทำแผนทุกครั้งก่อนที่จะทำการยกสิ่งของ
- ต้องมีการบำรุงรักษาเครน ตรวจสอบเครน และทดสอบเครน (test load) เป็นไปตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้
ห้ามใช้เครนยกสิ่งของข้ามศีรษะของเจ้าหน้าที่คนอื่นอย่างเด็ดขาด - เครนจะต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนด
สรุป
การทำงานกับเครน หรือ ปั้นจั่นอย่างปลอดภัย นอกจากผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรมเครนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ผู้ปฏิบัติงานต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ.2564
- หลักเกณฑ์และวิธีการอบรมหลักสูตรการปฏิบัติหน้าที่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณแก่ผู้บังคับปั้นจั่น ผู้ยึดเกาะวัสดุ หรือผู้ควบคุมการใช้ปั้นจั่น และการอบรมทบทวนการทำงานเกี่ยวกับปั้นจั่น พ.ศ. 2554