สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนเข้า พื้นที่อับอากาศ 7 ข้อ มีอะไรบ้าง
พื้นที่อับอากาศ พบได้ในเกือบทุกอุตสาหกรรมและเนื่องจากธรรมชาติของที่อับอากาศเป็นอันตรายสูงมากจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ที่จะเข้าไปจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง และ ใช้ขั้นตอนพิเศษเพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ปฏิบัติงานเองการทำงานอย่างปลอดภัยในพื้นที่อับอากาศต้องมีการเตรียมอย่างรอบคอบรวมถึงทำความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นภายในพื้นที่อับอากาศด้วย
OSHA ประมาณการว่าการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยอย่างเข้มงวดสามารถป้องกันการเสียชีวิตในที่อับอากาศได้ 53 รายในแต่ละปีอย่างไรก็ตามเพื่อให้บรรลุเป้าหมายต้องเข้าใจก่อนว่าหากต้องเข้าไปทำงานต้องพิจารณาอะไรบ้างจึงจะเข้าไปในพื้นที่อับอากาศได้อย่างปลอดภัย
วางแผนก่อนการเข้าและออก พื้นที่อับอากาศ
การวางแผนการเข้าและออกสำหรับพื้นที่อับอากาศเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากพื้นที่อับอากาศเป็นพื้นที่แคบ หรืออุโมงค์ สามารถควบคุมได้ยาก ผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานจำเป็นต้องมีความเข้าใจว่าจะสามารถเข้าไปได้อย่างปลอดภัยและออกไปได้อย่างไรเมื่องานเสร็จสิ้น
บรรยากาศอันตรายในงานที่อับอากาศ
เนื่องจากพื้นที่อับอากาศ มีบรรยากาศในพื้นที่ที่มักจะแตกต่างกันมาก ไม่ใช่บรรยากาศที่มนุษย์สามารถ หายใจได้อย่างสบาย อาจมีก๊าซพิษอยู่ภายใน สารอินทรีย์ที่สามารถปล่อยควันพิษ และปฏิกิริยาทางเคมี ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศจะต้องมีการทดสอบบรรยากาศโดยการใช้อุปกรณ์ที่ออกแบบมาสำหรับการตรวจจับสารเคมีและวัดก๊าซที่อาจมีอยู่ซึ่งในการใช้อุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องใช้โดยผู้ที่มีความรู้ความชำนาญและเครื่องมือจะต้องปรับเทียบตามมาตรฐานเพื่อให้ทราบค่าที่แท้จริงโดย OSHA ได้กำหนดให้ทดสอบบรรยากาศดังต่อไปนี้
- ออกซิเจน ต่ำกว่า 19.5% หรือ มากกว่า 23.5%
- ก๊าซที่ติดไฟได้ เกิน 10% LEL
- ก๊าซพิษและไอระเหย เกินปริมาณที่มาตรฐานกำหนด
ควรทำการทดสอบพื้นที่ทำงานอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้แน่ใจว่าสภาพบรรยากาศยังคงปลอดภัย หากผู้ปฏิบัติงานออกจากพื้นที่และจำเป็นจะต้องกลับเข้าไปใหม่ในภายหลัง จำเป็นจะต้องทดสอบสภาพบรรยากาศอีกครั้ง
แสงสว่างใน พื้นที่อับอากาศ
พื้นที่อับอากาศมักไม่มีแสงสว่างเหนือศีรษะของผู้ปฏิบัติงานเพื่อความสะดวกในการทำงานและการเคลื่อนย้ายในพื้นที่มืดเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการลื่นล้ม สะดุด และอุบัติเหตุอื่นๆ ที่ผู้ปฏิบัติงานไม่สามารถหลีกเลี่ยงอันตรายประเภทนี้ได้หากมองไม่เห็น ดังนั้น ควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ติดตั้งแหล่งกำเนิดแสงสว่างที่เหมาะสมกับพื้นที่อับอากาศแล้ว
ความพร้อมของอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานที่อับอากาศ
อุปกรณ์ที่เสียหายอาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพและอาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานตกอยู่ในความเสี่ยงได้ จึงจำเป็นจะต้องตรวจสอบอุปกรณ์เป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพดี และหากพบว่าอุปกรณ์ไม่พร้อมใช้งานจะต้องรีบดำเนินการแก้ไขโดยทันที
สภาพบริเวณทั่วไปที่อับอากาศ unsafe condition
ควรพิจารณาว่าเป็นพื้นที่สูงหรือไม่ อยู่ใต้ดินหรือไม่ ผนังมีความลาดเอียงหรือมีวัสดุอยู่เหนือศีรษะที่สามารถพังทลายลงมาได้หรือไม่ สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกพิจารณาก่อนการเข้าไปปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศ และจะต้องพิจารณาว่าผู้ที่เข้าไปปฏิบัติงานจะเผชิญกับความเสี่ยงการจมน้ำ การกักขัง น้ำท่วม หรือตกจากที่สูงหรือไม่ เพราะหากเป็นเช่นนั้นจะต้องมีมาตรการป้องกันและผู้ปฏิบัติงานต้องมีอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่เหมาะกับกับลักษณะของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
แผนกู้ภัยในงานอับอากาศ
จากข้อมูลของศูนย์อาชีวอนามัยและความปลอดภัยแห่งแคนาดา ผู้ช่วยชีวิตคิดเป็น 60% ของผู้เสียชีวิตในที่อับอากาศ แสดงให้เห็นว่าแผนการกู้ภัยที่ดีนั้น เป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อการช่วยชีวิต ควรกำหนดขั้นตอนการกู้ภัยก่อนเข้าไปและควรจะเจาะจงตามประเภทของอันตรายในพื้นที่ที่เกี่ยวข้องรวมถึงการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องทุกคนจะต้องได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติในภาวะฉุกเฉินและควรมีแผนเป็นลายลักษณ์อักษรและต้องมีการซ้อมขั้นตอนการช่วยชีวิตเพื่อให้มั่นใจว่าผู้ที่ทำหน้าที่ในการช่วยชีวิตมีความชำนาญเพียงพอที่จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างปลอดภัย
การสื่อสารในงานอับอากาศ
การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมากและเป็นส่วนสำคัญของแผนความปลอดภัยสำหรับงานในที่อับอากาศ ต้องพิจารณาการสื่อสารระหว่างผู้ที่อยู่ภายใน และผู้ที่อยู่ภายนอก รวมถึงการสื่อสารกับหน่วยบริการทางการแพทย์ อุปกรณ์สื่อสารที่เหมาะสำหรับพื้นที่จำกัดควรเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้
- แฮนด์ฟรี
- Wireless
- ฟลูดูเพล็กซ์
- ขับเคลื่อนอย่างอิสระ
- ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน
เนื่องจากพื้นที่อับอากาศ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาในการเชื่อมต่อสัญญาณ จึงจำเป็นจะต้องเลือกระบบการสื่อสารที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการขาดการติดต่อระหว่างผู้ที่อยู่ภายในและภายนอกพื้นที่
กฎหมายที่อับอากาศ
ในประเทศไทยเราก็มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่อับอากาศโดยตรงเช่นกันเพื่อป้องกันไม่ให้ลูกจ้างเข้าไปยังที่อับอากาศโดยทั้งหมดนี้ถือเป็นความรับผิดชอบของนายจ้างที่มีพื้นที่อับอากาศจะต้องดำเนินการตามกฎหมายตาม กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ.2562 อย่างเคร่งครัดด้วยเช่นกัน
สรุป
เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นใน ที่อับอากาศ นอกจากสิ่งที่จะต้องพิจารณาก่อนเข้าไปในพื้นที่แล้ว สิ่งที่สำคัญมากเช่นกัน คือ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานในที่อับอากาศทุกคน จะต้องได้รับการฝึก อบรมที่อับอากาศ ตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย